ปรัชญา
มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ และคุณธรรม
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2571 มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการบริหารจัดการยุคดิจิทัลและผลิตบัณฑิตที่มีทักษะทางวิชาชีพ มีคุณภาพ คุณธรรม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และนานาชาติ
พันธกิจ
มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ มุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิตและพัฒนาศักยภาพของนิสิต ทั้งในด้านวิชาการ ทักษะ คุณธรรม โดยมหาวิทยาลัยมีพันธกิจที่สำคัญ ดังนี้
1. ด้านการผลิตบัณฑิต
. การพัฒนานิสิตและบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน มีทักษะที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการ สามารถคิดวิเคราะห์และมีความยืดหยุ่นทางความคิด รวมทั้งมีทักษะการสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษาขึ้นไป(ภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม) มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตสามารถแข่งขันบนฐานเทคโนโลยีดิจิทัลที่ก้าวหน้าสามารถบูรณาการความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม สอดแทรกคุณธรรม จรรยาบรรณในวิชาชีพ มีวินัย มีสุขภาวะที่ดี และมีจิตสาธารณะนำไปสู่การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
2. ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม
. การให้ความสำคัญการทำงานวิจัยและนวัตกรรมมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์และบุคลากรใช้องค์ความรู้ใหม่ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับความต้องการของชุมชนสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข และยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยและนวัตกรรมให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อนำผลลัพธ์ของการวิจัยและนวัตกรรมไปพัฒนาการเรียนการสอนและนำไปต่อยอดความรู้ให้แก่นิสิต เพื่อพัฒนากระบวนการทางความคิดและทักษะที่พึงประสงค์ของนิสิตและบัณฑิตของมหาวิทยาลัยฯ
3. ด้านทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม
. การสร้างเครือข่ายกับชุมชนเพื่อการส่งเสริมและเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมไทย ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมของไทยและนานาชาติอย่างเหมาะสม เพื่อให้ชุมชนและนิสิตได้ตระหนักถึงรู้คุณค่าและภาคภูมิใจในความเป็นไทย
4. ด้านบริการวิชาการกับชุมชนและสังคม
. การสร้างเครือข่ายกับชุมชนและองค์กร ในการให้บริการวิชาการตามความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และสังคม โดยเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสร้างองค์กรแห่งความร่วมมือทางด้านการบริการวิชาการร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือ และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปพัฒนาและบูรณาการกับการเรียนการสอนและหลักสูตรนำสู่การเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนให้แก่บัณฑิต ชุมชน สังคม ประเทศชาติ
5. ด้านการบริหารจัดการและการประกันคุณภาพ
. การจัดระบบการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ด้านการจัดการองค์กร การจัดหาทรัพยากรบุคคลทุกระดับ การพัฒนาอาจารย์และเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดโครงสร้างพื้นฐานที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี โดยใช้ดิจิทัลเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ มีความคุ้มค่า มีระบบสารสนเทศที่ส่งเสริมการใช้ข้อมูลในการพัฒนากระบวนการทำงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ อีกทั้งการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงและมีภาพลักษณ์ที่ดี ตลอดจนการพัฒนาความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีระบบประกันคุณภาพ ติดตาม ตรวจสอบประเมิน และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ค่านิยมร่วมของมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ (RPU. 4.0)
มหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (Learning University)
. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิตตามอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยฯ โดยการพัฒนานิสิตและบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศเฉพาะด้าน สามารถสื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา (ภาษาอังกฤษและภาษาที่สาม) คิดวิเคราะห์แยกแยะได้อย่างเป็นระบบ มีความยืดหยุ่นทางความคิด และมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน สามารถแข่งขันกับบุคคลอื่น ๆ บนฐานเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองและสังคม โดยมหาวิทยาลัยฯได้สอดแทรกคุณธรรม จรรยาบรรณ ความมีวินัย สุขภาวะที่ดี และการมีจิตสาธารณะให้แก่นิสิตอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำไปสู่การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของสังคมและประเทศชาติ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมของอาจารย์และบุคลากรที่ใช้องค์ความรู้ใหม่ที่เชื่อมโยงกับความต้องการของชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข เพื่อยกระดับคุณภาพงานวิจัยและนวัตกรรมให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนาการเรียนการสอนและสร้างผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ให้แก่นิสิต เพื่อพัฒนากระบวนการทางความคิดและทักษะที่พึงประสงค์ของนิสิตและบัณฑิตของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ในด้านการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยฯ ให้ความสำคัญในด้านการสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับชุมชนและองค์กร โดยมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือตามความต้องการของชุมชนและสังคมเพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้แก่ชุมชน สังคม และนำผลลัพธ์ที่ได้ไปบูรณาการกับการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยฯ ในส่วนของการส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยแก่ชุมชน ท้องถิ่น และสังคมของมหาวิทยาลัยฯ โดยการสร้างเครือข่ายกับชุมชนเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมให้ชุมชนและนิสิตเกิดความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและภาคภูมิใจในความเป็นไทย ดังนั้นเพื่อให้ภารกิจดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลดังที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ข้างต้นนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้วางแผนโดยให้ความสำคัญทางด้านการพัฒนาองค์ความรู้ให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ (Learning University) โดยในปีการศึกษา พ.ศ. 2562-2571 มหาวิทยาลัยจึงผลักดันในด้านการพัฒนาแก่นิสิตและบุคลากร เช่น ด้านการพัฒนาการจัดการศึกษา การเสริมสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อสร้างกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และด้านอื่น ๆ ที่สร้างและส่งเสริมความสามารถของนิสิต อาจารย์และบุคลากร โดยการพัฒนาเพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ในปีการศึกษา พ.ศ. 2562-2571 จะประกอบด้วย
- บัณฑิตของมหาวิทยาลัยทุกช่วงวัยมีขีดความสามารถสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก พัฒนาสู่การเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) โดยมีทักษะ ดังนี้
1.1 ทักษะการใช้ภาษา (Language Literacy) ทักษะดิจิทัล (Digital Literacy) ทักษะเชิงตัวเลขและการเงิน (Numerical and Financial Literacy)
1.2 มีสมรรถนะของคนในศตวรรษที่ 21 ในด้านการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการ แก้ปัญหาที่ซับซ้อน ทักษะการสื่อสาร ทักษะความร่วมมือและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการเป็นผู้นำ
- หลักสูตรมีคุณภาพและได้รับการรับรองและเผยแพร่ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQR) หลักสูตรวิชาชีพได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพระดับชาติ/นานาชาติ
- มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตและชุมชนสังคม โดยมีระบบเทคโนโลยีที่พร้อมกับการเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ (Smart University) เอื้อต่อการพัฒนานิสิต บุคคลภายนอกและชุมชนสังคม ให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และเกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- มีความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตกับสถานประกอบการ ชุมชนสังคม โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาบัณฑิตร่วมกันโดยการร่วมสอน ร่วมพัฒนาอาจารย์ ร่วมจัดสหกิจศึกษา และจัดการศึกษาแบบบูรณาการกับการทำงาน โดยมีสถานประกอบการ ชุมชน และสังคม รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมเป็นเครือข่ายในการทำให้บัณฑิตเป็นบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ และเกิดการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
- มีหลักสูตรที่ร่วมดำเนินการกับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ ในสาขาที่เป็นความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยในรูปแบบหลักสูตรปริญญาควบ/ปริญญาข้ามสถาบัน (Double Degree /Joint Degree)
- พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ จัดตั้ง Digital Learning Center พัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ (E-Learning) และจัดให้มีรายวิชาออนไลน์ Massive Open Online Course (MOOC) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เอง สามารถเก็บเครดิต เพื่อเข้าศึกษาในระบบทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
- พัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัล หรือDigital literacy และมีสมรรถนะเชิงวิชาชีพโดยจัดการศึกษาแบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน โดยการปฏิบัติจริงในสถานประกอบการมีสหกิจในทุกหลักสูตร ให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทร่วมจัดการศึกษา
- พัฒนาสมรรถนะ ความรอบรู้และทักษะของนิสิตตามวิสัยทัศน์ของการพัฒนาประเทศมีคุณลักษณะขั้นต่ำของการเป็นผู้เรียนรู้ (Learner) ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-creator) และพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active citizen) และมีทักษะในการทำงานทั้ง ทักษะด้านความรู้ (Hard Skill) และทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skill) โดยเน้นกระบวนการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active Learning) เพื่อให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการทำกรณีศึกษา เป็นต้น
- เพิ่มห้องปฏิบัติการตรงตามเป้าหมายการผลิตบัณฑิตทุกสาขาวิชาและพัฒนาห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)
- ทุกหลักสูตรในมหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม เพิ่มทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก และสอดคล้องกับจรรยาบรรณในวิชาชีพของแต่ละหลักสูตร
- จัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อพัฒนานิสิตให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีคุณลักษณะสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย และมีคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองโลก (Global Citizen) โดยพัฒนาระบบสารสนเทศและพัฒนาเทคโนโลยี/สื่อการเรียนรู้ไปสู่รูปแบบการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด (Smart Learning) ที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning) ทั้งในชั้นเรียนและการเรียนรู้ด้วยตัวเองนอกห้องเรียน
- จัดโครงการ/กิจกรรมที่เสริมสร้างพัฒนาบัณฑิตให้เป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ประเทศชาติ และโลก มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ยึดมั่นในความถูกต้อง เสริมสร้างสันติสุข มีความสุขในการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ
- พัฒนาความรู้ ทักษะ และสมรรถนะเชิงวิชาชีพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานผ่านการจัดการศึกษาในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work Integrated Learning: WIL) โดยการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ หรือการฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษาในทุกหลักสูตร โดยให้ภาคเอกชนและสถานประกอบการเข้ามามีบทบาทร่วมจัดการศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
- เปิดหลักสูตรใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานทุกระดับคุณวุฒิมีระบบและทรัพยากรการเรียนรู้เสมือนสำหรับผู้เรียนเจนเนอเรชั่น C และเจนเนอเรชั่น Z ที่สามารถใช้งานได้กับเทคโนโลยีการสื่อสาร ปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
- มหาวิทยาลัยมีทรัพยากรที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาการเรียนการสอน
- มหาวิทยาลัยยกระดับเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบัน/องค์กรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งเครือข่ายศิษย์เก่าในการเปิดหลักสูตรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระยะสั้น ระยะยาว มีการให้บริการวิชาการที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ในด้านสังคมสูงวัย ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และการศึกษา ดังนี้
16.1 ด้านสังคมสูงวัย มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย และการจัดการศึกษาเพื่อผู้สูงวัยทั้งการเสริมทักษะใหม่ (Upskill) และการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) ผู้สูงอายุ
16.2 ด้านการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และมีการเตรียมความพร้อมให้กับนิสิตและคนในชุมชนในการเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงการสร้างผู้ประกอบการใหม่ (Startup)
- มหาวิทยาลัยมีทรัพยากร เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการบริการวิชาการ
- ส่งเสริมให้อาจารย์มีการจัดทำงานวิจัยเพื่อส่งเสริมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ การรักษ์สิ่งแวดล้อม การมีสังคมที่อยู่ดีมีสุข การเสริมสร้างภูมิปัญญามนุษย์
มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ (Quality University)
. มหาวิทยาลัยเป็นขุมพลังทางปัญญาของสังคมที่มีพันธกิจในการส่งมอบผลผลิตที่มีคุณภาพแก่สังคมทั้งในด้านการผลิตบัณฑิตและผลลัพธ์ของผู้เรียน งานวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการ ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย การบริหารจัดการ การบริหารงาน การพัฒนาอาจารย์และเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศ ดิจิทัล และพัฒนากระบวนการทำงานที่รวดเร็ว โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และคุ้มค่าเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ โดยการพัฒนาเพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ ในปีการศึกษา พ.ศ. 2562-2571 จะประกอบด้วย
- ด้านการผลิตบัณฑิต
1.1 ได้รับการประเมินรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานสากล เช่น สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีทั่วโลก (Association to Advance Collegiate Schools of Business: AACSB) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับรองมาตรฐานการศึกษาด้านบริหารธุรกิจระดับโลก
1.2 อาจารย์สามารถสร้างการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมทางการเรียนรู้ งานวิจัยและนวัตกรรม อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ได้รับการประเมินรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานสากล เช่น สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีทั่วโลก (Association to Advance Collegiate Schools of Business: AACSB)
- ด้านงานวิจัยและนวัตกรรม
2.1 มีงานวิจัยและนวัตกรรมที่พัฒนาเชิงลึกในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์และทุนวัฒนธรรม ด้วยการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ให้มีจุดเด่น ต่อยอดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ ให้กับชุมชน สร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติ และสามารถเผยแพร่ในระดับยกระดับสู่ภูมิภาค อาเซียน และนานาชาติอย่างมีคุณภาพ
2.2 มีงานวิจัยที่ได้รับทุนจากหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน สถานประกอบการ ชุมชนท้องถิ่น ทั้งในลักษณะร่วมบูรณาการศาสตร์ ร่วมคิดร่วมทำเพื่อนำผลงานวิจัยมาใช้จริงทั้งในเชิงการปรับนโยบาย การปรับรูปแบบการทำงาน การนำผลงานวิจัยมาใช้เชิงพาณิชย์
2.3 ผลผลิตของมหาวิทยาลัย เช่น นิสิต งานวิจัย หรือคณาจารย์ ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ และจากผลการประเมินของหน่วยงานระดับสากล (Quality University)
- ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
3.1 มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการส่งเสริมสืบสานและสร้างสรรค์งานด้านศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น
3.2 สามารถนำศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของท้องถิ่นและสร้างองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมไทยไปสู่ ระดับนานาชาติ
- ด้านการบริการวิชาการกับชุมชนและสังคม
4.1 มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กรในการบริการวิชาการให้แก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคมเพิ่มขึ้น
4.2 มหาวิทยาลัยร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือในการให้บริการวิชาการที่มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน และสังคมที่นำไปสู่การพัฒนาตนเอง เสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่นิสิต ชุมชน สังคม ประเทศชาติ
4.3 เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศทางธุรกิจ ที่สามารถเป็นที่พึ่งของชุมชน
- ด้านการบริหารจัดการ
5.1 พัฒนาระบบสารสนเทศที่เอื้อต่อการดำเนินงานและบูรณาการระบบการประกันคุณภาพและการประเมินผลการปฏิบัติงานไปสู่งานประจำ โดยกระบวนการ PDCA เป็นกลไกเชื่อมโยงการประกันคุณภาพ การประเมินผล และการนำกลับไปปรับปรุงงานประจำอย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยทุกด้าน
5.2. มีการบริหารจัดการในการใช้เทคโนโลยีและแอปพลิเคชัน (Application) ที่สนับสนุนกระบวนการทำงานของมหาวิทยาลัยเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
5.3 มีการบริหารจัดการอย่างมีธรรมาภิบาล บริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
5.4 พัฒนาทรัพยากรที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาหลักสูตร พัฒนาการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ พัฒนาสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย เหมาะสมกับบริบทของหลักสูตรและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ และจากผลการประเมินของหน่วยงานระดับสากล (Quality University) อาจารย์เป็นผู้นำทางวิชาการ มีการปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ รวมถึงมีคุณลักษณะ แบบ KSA ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge) ด้านทักษะ (Skills) และด้านทัศนคติ (Attitude)
5.5 อาจารย์มีกระบวนการเรียนรู้ด้านวิจัยอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้าง และใช้องค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับความต้องการของชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข พร้อมยกระดับคุณภาพของงานวิจัยและนวัตกรรมให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
5.6 อาจารย์มีการพัฒนาให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ในหลากหลายรูปแบบ
5.7 อาจารย์และเจ้าหน้าที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาที่สูงขึ้น
5.8 อาจารย์และเจ้าหน้าที่สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้
5.9 เจ้าหน้าที่มีการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
มหาวิทยาลัยแห่งความสุข (Happy University)
. มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายให้บุคลากรทุกคนทำงานและใช้ชีวิตอยู่ภายใต้มหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข นิสิตของมหาวิทยาลัยเรียนและทำกิจกรรมอย่างมีความสุข มีจิตอาสาทั้งต่อเพื่อน ๆ อาจารย์ ชุมชน และสังคม มีการบริการด้านต่าง ๆ และช่วยเหลือนิสิตอย่างครบถ้วนโดยมหาวิทยาลัยการก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนอกจากจะเน้นการบริหารเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ แล้ว มหาวิทยาลัยยังมุ่งส่งเสริมให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข โดยมหาวิทยาลัยมีความเชื่อว่า การที่บุคลากรมีความสุขในการทำงานและการดำรงชีวิตจะส่งผลต่อความสำเร็จและผลลัพธ์ของการทำงาน รวมทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่การเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพให้แก่มหาวิทยาลัย ลดอัตราการลาออก ลดความเครียดของผู้ปฏิบัติงาน และยังเป็นการรักษาคนดี และมีความสามารถให้อยู่ร่วมงานกับมหาวิทยาลัยอย่างยาวนาน การที่บุคลากรไม่มีความสุขจะส่งผลให้บุคลากรมีพฤติกรรมการทำงานที่ขาดความกระตือรือร้น ท้อถอย ขาดแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพงาน โดยการพัฒนาเพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความสุขในปีการศึกษา พ.ศ. 2562-2571 จะประกอบด้วย
- ปลูกฝังนิสิตให้เป็นผู้มีจิตอาสาพัฒนาสังคม ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ผ่านโครงการ/กิจกรรมของสาขา/คณะ/มหาวิทยาลัยฯ และหน่วยงานภายนอก
- พัฒนาโดยใช้ระบบเทคโนโลยีในการดูแลให้คำปรึกษา ระบบงานสวัสดิการและบริการนิสิตในการใช้ชีวิตเพื่อให้นิสิตใช้ชีวิตอยู่ภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข รวมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นิสิตและบัณฑิตนำศักยภาพตนเองมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม จัดกิจกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมสร้างมหาวิทยาลัยให้เป็น “สังคมที่น่าอยู่” มีสิ่งแวดล้อมที่ดีสวยงาม น่ามอง ปราศจากสิ่งเสพติดในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มรูปแบบ
- เพิ่มช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างมหาวิทยาลัยกับศิษย์เก่า เพื่อให้ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยได้รับข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์จากมหาวิทยาลัย
- ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างศิษย์เก่ากับมหาวิทยาลัยให้เกิดความสัมพันธ์อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
- มหาวิทยาลัยมีระบบการดูแลให้คำปรึกษาแก่นิสิตเพื่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในมหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยสามารถรักษา สร้างขวัญกำลังใจ และความก้าวหน้าในวิชาชีพของอาจารย์และเจ้าหน้าที่
มหาวิทยาลัยแห่งดิจิทัล (Digital University)
. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถนำมาปรับใช้หรือบูรณาการกับการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานิสิตของมหาวิทยาลัยกลายเป็น ผ่านกระบวนการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Active Learning) และสามารถนำความรู้และเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการประกอบสัมมาชีพในอนาคต รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม เพื่อหวังให้เกิดการสร้างคุณภาพชีวิต สร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเอง สังคม และประเทศชาติในระดับนานาชาติได้อย่างทัดเทียม รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการพัฒนากระบวนการการทำงานและการบริหารข้อมูลเพื่อสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร โดยการพัฒนาเพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งดิจิทัลในปีการศึกษา พ.ศ. 2562-2571 จะประกอบด้วย
- สร้างและจัดทำระบบการบริหารข้อมูล (Big data) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการทำงานและการตัดสินใจของผู้บริหารในการดำเนินงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
- สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการบูรณาการเรียนการสอนกับเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) และอาคารอัจฉริยะ (Intelligent Building) เป็นต้น

. งานนโยบายและแผน มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการให้การดำเนินงานของโครงการต่าง ๆ ตอบสนองตรงตามพันธกิจครบทุกด้านของวิทยาลัย โดยจะต้องมีแผนให้บุคลากรอื่น ๆ นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ต้องมีการจัดสรรงบประมาณให้ใช้อย่างเหมาะสม โดยภาระหน้าที่ในงานนโยบายและแผนมีการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้
1.1 จัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย
1.2 จัดทำแผนปฏิบัติการ และแผนงบประมาณ ในแต่ละปีการศึกษาของมหาวิทยาลัย
1.3 ตรวจสอบและเสนอเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของหน่วยงานงานในเสนอต่อรองอธิการบดีฝ่ายบริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติ ประกอบด้วย
– แบบจัดทำโครงการและการการขออนุมัติงบประมาณในแผนปฏิบัติการ มรพ.คง.1,2
– แบบขออนุมัติดำเนินโครงการ มรพ.ผ.01
– แบบขออนุมัติดำเนินงาน มรพ.ผ.02
– แบบรายงานผลการปฏิบัติงานหลังสิ้นสุดโครงการ มรพ.ผ.03
1.4 ติดตามผลการปฏิบัติงาน ตามแผนปฏิบัติการ และแผนงบประมาณในแต่ละปีการศึกษา จำนวน 3 ครั้ง คือ
– เดือนตุลาคม
– เดือนมีนาคม
– เดือนพฤษภาคม
รวบรวมจัดทำสรุปการดำเนินงานและนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ
1.5 วิเคราะห์และสรุปผลการติดตามแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณประจำปีการศึกษา เพื่อนำเสนอรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร
– จัดทำรายงานการปฏิบัติงานประจำปี ในแต่ละปีการศึกษา
– จัดทำรายงานสรุปการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดในแผนปฏิบัติการประจำปี ดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ที่ได้รับมอบหมาย